Rainbow Lucky Charms

วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2557

25 ตุลาคม 2557

สัปดาห์ที่ 10

วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจาร์ยผู้สอน อาจาร์ยจินตนา  สุขสำราญ
วันที่  21 ตุลาคม  2557
ครั้งที่ 10 กลุ่มเรียน  103
เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.  ห้อง 434







         ในรายสัปดาห์นี้ดิฉันได้ออกไปนำเสนอสื่อประดิษฐ์วิทยาศาสตร์   สื่อประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ที่ดิแันนำมาเสนอคือ กระบอกดนตรีพาเพลิน  โดยได้ idea มาจากโลก  Social ซึ่งมีความน่าสนใจ และสามารถทำได้ง่าย  สื่ออุปกรณืที่หามาทำก็หาง่ายๆ  มีในท้องถิ่น  และเป็นวัสดุเหลือใช้  เพื่อเป็นการไม่ให้เสียเวลาเรามารู้จักกับเจ้ากระบอกดนตรีหรรษากันเลยคะ 


        สื่อประดิษฐ์กระบอกดนตรีหรรษา



 อุปกรณ์

1.  ถ้วยมาม่ากึ่งสำเร็จรูป 2 ถ้วย
2.  ลูกโป่ง  2  ใบ
3.  กระดาษสี
4.  กาว
5.  กรรไกร
6.  กระดิ่ง


                  วิธีการทำ

1.  ตัดก้นลูกโป่งทิ้ง  2 ใบ  แล้วนำมาดึงให้ตึง   ขึงที่ปากถ้วยบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทั้ง  2  ถ้วย

2.  ขึงที่ปากถ้วยบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทั้ง 2  ถ้วย

3.  นำกระดาษมาตกแต่งให้สวยงาม ตามใจชอบ

4.  เมื่อตกแต่งเรียบร้อยแล้ว  ก็นำส่วนก้นมาประกบกัน

5.  ตกแต่งกระบอกดนตรีด้วยกระดิ่งให้สวยงาม



             วิธีการเล่น

1.  ดึงที่หนังลูกโป่งก็จะทำให้เกิดเสียง

2.  นำนิ่งไปเสียดสีกับหนังลูกโป่งก็จะทำให้เกิดเสียง

3.  เมื่อเขย่าลูกโป่งกระดิ่งก็จะเกิดเสียง



             หลักการวิทยาศาสตร์


 1.  เสียง  เป็นคลื่นกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ     เมื่อวัตถุสั่นสะเทือน   ก็จะทำให้เกิดการอัดตัวและขยายตัวของคลื่นเสียง  และถูกส่งผ่านตัวกลาง

2.   เมื่อวัตถุไปเสียดสีกันก็จะทำให้เกิดเสียง

3. เมื่อวัตถุเคลื่อนที่ไปกระทบกันก็จะทำให้เกิดเสียงขึ้น


ประเมินตนเอง 

ในสัปดาห์นี้ให้คะเเนนตัวเอง 90 คะเเนน เพราะตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย   และมีส่วนร่วมในการตอบคำถามในห้องเรียน

ประเมินเพื่อน

ในรายสัปดาห์นี้ให้คะเเนนเพื่อน 100 คะเเนน  เพราะเพื่อนตั้งใจเรียนและเเต่งกายเรียบร้อย  และมีส่วนร่วมในการตอบคำถามในห้องเรียน

ประเมินครูผู้สอน  

ในรายสัปดาห์นี้ให้คะเเนนครูผู้สอน 100 คะเเนนเพราะครูสอนเข้าใจ  เเต่งกายเรียบร้อย  เเละเข้าสอนตรงเวลา  


           

14 ตุลาคม 2557

สัปดาห์ที่ 9

วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจาร์ยผู้สอน อาจาร์ยจินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 14 ตุลาคม 2557
ครั้งที่ 9 กลุ่มเรียน  103
เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.  ห้อง  434



           ในรายสัปดาห์นี้เป็นการนำเสนองานประดิษฐ์วิทยาศาสตร์  มีทั้งคนที่ทำมาและไม่ทำมา เนืองจากบางคนไม่ทราบว่าต้องส่งอาทิตย์นี้  รวมมาถึงตัวดิฉันด้วยที่ไม่ได้ทำไป อาจาร์ยจึงให้คนที่พร้อมออกไป  present  ก่อนและคนที่ไม่ได้มางานประดิษฐ์มา คุณครูู้สอนได้เปิดโอกาสให้อีกครั้งหนึ่งโดยการนำมาส่งในสัปดาห์หน้า เเต่ต้องมีเงื่อนไขว่าต้องตั้งใจทำ  และต้องทำมาให้ดีกว่าเพื่อนในอาทิตย์นี้ และห้ามซ้ำเพื่อนในห้องด้วย

            ชื่องานประดิษฐ์ที่เพื่อนนำมาเสนอ

1.  ล้อรถจากด้าย
2.  ไหมพรมเต้นระบำ
3.  ลูกโปรงลอยฟ้า
4.  วงล้อหลากสี
5.  โทรศัพท์จากแก้ว
6.  ตุ๊กตาโยกเยก
7.  นักดำน้ำ
8.  ผึ้งน้อยเล่นน้ำ 
9.  ร่มชูชีพ
10.เรือดำน้ำ
11.จรวด
12.กีตาร์สามเหลี่ยม
13.ป๋องแป๋ง


            สื่อประดิษฐ์ที่ดิฉันสนใจ


                                                    ตุ๊กตาโยกเยก 

                                            miss  Umaporn  Porkkati







            อุปกรณ์

1.  กระป๋องทรงกลม
2.  ดินน้ำมัน
3.  กระดาษสี
4.  กาว
5.  กรรไกร


       วิธีการทำ

1.  น้ำดินน้ำมันยัดลงไปตรงกลางของกระป๋อง
2.  ตัดกระดาษตกแต่งกระป๋องให้สวยงาม
3.  ลองเล่นว่าเมื่อโยกไปทางซ้าย หรือทางขวากระป๋องจะกลับมาที่เดิมหรือป่าว 

     วิธีการเล่น

กลิ้งกระป๋องไปทางซ้าย ทางขวาแล้วกล่องจะเด้งกลับมาที่เดิม


  หลักการทางวิทยาศาสตร์

เมื่่อเรากลิ้งกระป๋องไปทางซ้าย ทางขวาจะเห็นได้ว่ากระป๋องจะกลิ้งกลับมาที่เดิม  เนื่องจากเกิดจากเเรงโน้มถ่วงของดินน้ำมันที่อยู่ข้างใน ทำให้กระป๋องกลับมาที่เดิม 



           งานประดิษฐ์ที่น่าสนใจ







ประเมินตนเอง 

ในสัปดาห์นี้ให้คะเเนนตัวเอง 90 คะเเนน เพราะตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังงานที่เพื่อนนำมาเสนอหน้าชั้นเรียน

ประเมินเพื่อน

ในรายสัปดาห์นี้ให้คะเเนนเพื่อน 100 คะเเนน  เพราะเพื่อนตั้งใจเรียนและเเต่งกายเรียบร้อย  และมีส่วนร่วมในการตอบคำถามในห้องเรียน

ประเมินครูผู้สอน  

ในรายสัปดาห์นี้ให้คะเเนนครูผู้สอน 100 คะเเนนเพราะครูสอนเข้าใจ  เเต่งกายเรียบร้อย  เเละเข้าสอนตรงเวลา   


วันจันทร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2557

7 ตุลาคม 2557

สัปดาห์ที่ 8

วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจาร์ยผู้สอน อาจาร์ยจินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 7 ตุลาคม 2557
ครั้งที่ 8 กลุ่มเรียน  103
เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.  ห้อง  434 





* ในรายสัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอยู่ในช่วงสอบกลางภาค











30 กันยายน 2557

สัปดาห์ที่ 7

วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจาร์ยผู้สอน อาจาร์ยจินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 30 กันยายน 2557
ครั้งที่ 7 กลุ่มเรียน  103
เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.  ห้อง  434  






           
 ในรายสัปดาห์นี้ในการเรียนการสอนมีกิจกรรมที่นำมาสอนสอดแทรก ในรายสัปดาห์นี้มี 2 กิจกรรม คือ    
1. กิจกรรมลูกยาง        
2. กิจกรรมแกนกระดาษทิชชู    

และกิจกรรมบทความที่เพื่อนทั้ง 5 คนนำมาเสนอให้ความรู้ให้เพื่อนๆได้ฟัง   ก่อนอื่นดิฉันก็ขอนำบทความที่ดิฉันมีความสนใจมาเสนอดังต่อไปนี้คะ


   บทความเรื่อง หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย จำเป็นหรือไม่ ?


ที่มา : นิตยสาร สสวท.
   หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยเป็นการส่งเสริมครูปฐมวัยให้สามารถจัดประสบการณ์ในรูปของกิจกรรมบูรณาการที่ สามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้อย่างครบถ้วนทุกด้าน โดยไม่จำเป็นต้อง แยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์  เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วง เวลานั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียน รู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบผลจากการติดตามการทดลองใช้ พบว่าครูสามารถที่จะนำกรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย ไปจัดกิจกรรมบูรณาการวิทยาศาสตร์ในทุกสาระที่ควรรู้ได้ในทุกสาระโดยสอดแทรก เข้าไปในทุกกิจกรรมหลักที่ครูจัดอย่างสม่ำเสมอได้ แต่สิ่งที่ครูยังมีความต้องการนั้น ครูยังต้องการตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เยอะ ๆ ซึ่ง สสวท. กำลังพัฒนาส่วนนี้อยู่
  อ. ชุติมา กล่าวหลังจากนั้นได้จัดอบรมครูทั่วประเทศไปแล้วในปี พ.ศ. 2552ที่อุดรธานี  เชียงใหม่ ภูเก็ต  และระยอง  ต่อจากนี้จะจัดอบรมให้แก่ศึกษานิเทศก์ทั่วประเทศเขตพื้นที่ละหนึ่งคน เพื่อที่จะให้ศึกษานิเทศก์ได้เป็นผู้ที่คอยให้คำแนะนำช่วยเหลือแก่ครูส่วน การดำเนินงานเกี่ยวกับหลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยในอนาคต  หลังจากที่ สสวท. จัดทำคู่มือการใช้หลักสูตรเสร็จแล้ว ก็คือการชักชวนพันธมิตร เช่น ภาควิชาปฐมวัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏซึ่งมีอยู่ทั่วทุกประเทศ เป็นศูนย์การอบรมครูปฐมวัย  และในขณะเดียวกัน สสวท. และคณะที่เป็นนักการศึกษาปฐมวัยที่เป็นผู้เริ่มต้นโครงการนี้ก็จะถอยมาเป็น ผู้อบรมวิทยากรอีกทีหนึ่ง “ทุก ประเทศในโลกจะสอนปฐมวัยในเชิงบูรณาการ ก็คือจะบูรณาการทุกวิชาไว้ด้วยกัน  เพราะถือว่าเด็กจะต้องพัฒนาเป็นองค์รวม  แต่การที่ครูจะจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการพัฒนาเด็กเป็นองค์รวมนั้น จะต้องมีมาตรฐานเป็นที่ตั้งในของแต่ละสาระ เช่น คณิตศาสตร์ควรจะเรียนแค่ไหน วิทยาศาสตร์ควรจะเรียนแค่ไหน ครูก็จะยึดเอากรอบมาตรฐานมาจัดทำเป็นหลักสูตรบูรณาการปฐมวัยของตัวเอง ทุกประเทศจะเป็นแบบนี้ รวมทั้งประเทศเราด้วย” อ.ชุติมากล่าวทิ้งท้าย

..................................................................


กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมลูกยาง


อุปกรณ์

1 กระดาษหน้าปก ( Paper )
2   กรรไกร ( Scissors )
3   คลิปหนีบกระดาษ  ( paperclip )


ขั้นตอนการประดิษฐ์

1 นำกระดาษที่ได้มาพับครึ่ง  แล้วนำกรรไกรมาตัดเป็นแนวตรงยาวให้ชิดกับรอยพับครึ่งของกรรไกร
2 พับส่วนบนของกระดาษเข้ามา  1 เซนติเมตร
3 นำคลิปหนีบกระดาษมาหนีบไว้ด้านที่พับส่วนบนเข้ามา  จากนั้นกางปีกส่วนที่โดนตัดออกไปคนละด้าน    กัน
4 นำมาทดลองเล่น  โดยการโยนและทำให้กระดาษหมุน










กิจกรรมที่ 2  กิจกรรมแกนกระดาษทิชชู่

อุปกรณ์


1 แกนกระดาษทิชชู่

2 กระดาษตัดเป็นรูปวงกลม
3 ไหมพรม
4 กาว
5 กรรไกร
6 สี
7 ที่เจาะรู

ขั้นตอนการประดิษฐ์


1 นำเเกนกระดาษทิชชู่มาตัดครึ่ง แล้วเจาะรู 4 รู

2 นำกระดาษมาตัดเป็นวงกลม มาแปะตรงเเกนกระดาษทิชชู่ วาดรูปลงไปให้สวยงาม
3 นำไหมพรมมาร้อยกับแกนกระดาษทิชชู่ ให้สามารถห้อยคอได้
4 จากนั้นก็ทดลองเล่น  โดยการเคลื่อนขึ้นลงไปมา ได้ใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์




เทคนิคการสอนของอาจารย์

     อาจาร์ยผู้สอนให้นักศึกษาได้ใช้ความคิดแบบอิสระ  ให้เด็กได้คิด  และทำตามจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบภาพการ์ตูน  และการเล่นอย่างไรให้สิ่งของเคลื่อนไหวได้  สิ่งที่เด็กจะได้ ได้ฝึกการสังเกต  และลงมือประดิษฐ์เอง โดยมีอาจาร์ยผู้สอนให้คำปรึกษาอยู่ห่างๆ



การนำไปประยุกต์ใช้

     สามารถนำกิจกรรมงานประดิษฐ์ที่ครูสอนไปใช้ในการเรียนการสอนเด็กปฐมวัยในอนาคต   และสามารถนำไปใช้ในกิจกรรมศิลปะ   วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์   เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว  แรงดึง  เเรงดัน   จะทำให้เด็กมีจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ไปในตัว  และได้ปฏิบัติงานด้วยตนเอง





ประเมินตนเอง 

ในสัปดาห์นี้ให้คะเเนนตัวเอง 90 คะเเนน เพราะตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย   และมีส่วนร่วมในการตอบคำถามในห้องเรียน

ประเมินเพื่อน

ในรายสัปดาห์นี้ให้คะเเนนเพื่อน 100 คะเเนน  เพราะเพื่อนตั้งใจเรียนและเเต่งกายเรียบร้อย  และมีส่วนร่วมในการตอบคำถามในห้องเรียน

ประเมินครูผู้สอน  

ในรายสัปดาห์นี้ให้คะเเนนครูผู้สอน 100 คะเเนนเพราะครูสอนเข้าใจ  เเต่งกายเรียบร้อย  เเละเข้าสอนตรงเวลา   และ power point  มีความสวยงามดูแล้วมีความสะอาดตามากคะ