Rainbow Lucky Charms

วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

6 ธันวาคม 2557



โทรทัศน์ครู
จุดประกายความคิด
เรื่องภาชนะจากเส้นใยธรรมชาติ

โดยคุณครูอรพิน  อินทรโฆษิต  โรงเรียนชลบุรี  สุขบท


       โดยรุ่นพี่ผลักดัน  วิธีการทำวิจัย  โครงงานวิทยาศาสตร์ให้รุ่นน้อง   ผ่านการทำโครงการวิทยาศาสตร์โดยมีพี่ๆเป็นคนสอนน้องๆ  โดยครูอรพินกล่าวว่าเทคนิคการสอนหรือสื่อการสอน  ซึ่งการสอนโดยสื่อวิทยาศาสตร์ก็เป็นเทคนิคการสอนใหม่ๆ  เพราะปัจจุบันทำให้เด็กเกิดทักษะต่างๆ  เช่น  ทักษะการคิด    ทักษะการวิเคราะห์    ทักษะการใช้คำถาม  ทักษะการทำงาน   ทักษะกระบวนการกลุ่ม    งานวิทยาศาสตร์จึงเปรียบเสมือนโปรเจ็คอย่างหนึ่งที่เด็กได้ทำเอง   เพราะเด็กได้นำความรู้ความสามารถของตนเองออกมา  ไม่ว่าจะเป็น  ภาษาไทย   ภาษาอังกฤษ   ศิลปะ    
        เทคนิคแบบโครงการจึงเป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่สามารถนำมาพัฒนานักเรียนได้   แล้วยังบอกอีกว่า  โครงการวิทยาศาสตร์มีทั้งหมด   4   ประเภท 
1.โครงการแบบสำรวจ  
2.โครงการเเบบทดลอง
3.โครงการสิ่งประดิษฐ์
4.โครงการทฤษฎี  ( ยากสุด )
   หลังจากนั้นครูให้นักเรียนเเบ่งกลุ่ม   และให้คิดโครงการของกลุ่มตนเอง   โดยมีรุ่นพี่มาสอนและให้ความรู้ โดยสอนให้ความรู้เรื่อง   ภาชนะจากเส้นใยธรรมชาติ   ซึ่งรุ่นพี่ได้รับรางวัลระดับประเทศ


 ที่มา 
  
    ปัจจุบันเกิดภาวะโลกร้อน ซึ่งเกิดจากการทำลายของมนุษย์  ทั้งการทิ้งขยะ  การตัดไม้ทำลายป่า  การใช้ถ้วยโฟม   แล้วมลพิษต่างๆ ที่ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจกหรือภาวะโลกร้อน   ดังนั้นจึงมีไอเดียขึ้นมาว่า  ถ้าเรานำพืชมาทำเป็นภาชนะแทนถ้วยโฟม เราก็จะสามารถลดภาวะโลกร้อนได้    ดังนั้นในการทำภาชนะจากเส้นใยธรรมชาติก็จะใช้พืชดังต่อไปนี้  




    1.สับปะรด





    2.ชานอ้อย





    3.ผักตบชวา  


        และใช้สารอีก 3  ชนิดเพื่อช่วยในการเปื่อยยุ่ยให้มากที่สุด   คือสารละลายขี้เถ้า   สารละลายมะกรูด    สารละลายสับปะรด  



  สารละลายขี้เถ้า





  สารละลายมะกรูด




    สารละลายสับปะรด


    โดยมีเปลือกส้มโอเป็นตัวสกัด  เพราะเปลือกส้มโอมีสารเเพคติน  ซึ่งทำให้มีความเหนียว 




  เปลือกส้มโอ



วิธีการทำ

นำเส้นใยมาทำเป็นแผ่นชนวน  โดยนำผักตบชวาไปต้มกับน้ำขี้เถ้า   แล้วทิ้งไว้  2  ชั่วโมง  หลังจากนั้นนำไปผสมกับกาว กาวมี  3  ชนิด คือ กาวเเป้งมัน  กาวข้าวเหนียว  กาวมะขาม 
 ( กาวมะขามจะเหนียวมากที่สุด )


    

    กาวแป้งมัน





   กาวแป้งข้าวเหนียว




    กาวมะขาว  ( เหนียวที่สุด )


       โดยนำมาสกัดกับเปลือกส้มโอ  ก็จะได้ภาชนะที่ยับยั้งการซึมของน้ำ   และได้ภาชนะที่อุ้มน้ำได้ดี   แล้วน้องๆก็นำไปเป็นตัวอย่างโครงการของกลุ่มตนเอง  เช่น  กลุ่มโครงการไอโอซีท   โครงการไบโอดีเซล   โครงการการทำยาสระผมจากพืช    การทำน้ำยาล้างจาน   เป็นต้น   
     โดยรุ่นพี่กล่าวว่าทุกๆสิ่งล้วนนำมาจากของเหลือใช้ทั้งหมดที่มีในท้องถิ่น   และวัสดุจากธรรมชาติ  


ความรู้ที่ได้รับ 

     ความรู้ที่ได้รับคือ ทราบถึงการทำโครงการ และการนำวัสดุจากท้องถิ่น  วัสดุจากธรรมชาติไปใช้ให้เกิดประโยชน์  และความรู้นี้สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนในอนาคตได้ และเราสามารถนำไปใช้สร้างรายได้สร้างอาชีพได้  อีกทั้งยังได้ประสบการณ์ที่ดีในการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง   


หลังจากเสร็จกิจกรรมอ่านบทความที่ตนเองนำมาเสนอ  วันนี้อาจารย์ผู้สอนก็นำกิจกรรมเกี่ยวกับการทำอาหารมาให้นักศึกษาได้ทดลองทำ  โดยสัปดาห์นี้เป็นการทำการทดลอง  เรื่องคุณสมบัติของน้ำ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้





งานวิจัยวิทยาศาสตร์

เรื่องการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย


ผู้เเต่ง

นางยุพาภรณ์  ชูลาย


ชื่อเรื่อง


การเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย


จุดมุ่งหมาย


1.เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

2.เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติก่อนและหลังการทดลอง


ตัวเเปรต้น 
เรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ
ตัวแปรตาม
ที่มีผลต่อทักษะพื้นฐานของเด็กปฐมวัย

นิยามศัพท์เฉพาะ
เด็กปฐมวัย  หมายถึง   เด็กปฐมวัยชาย  หญิง  อายุระหว่าง 5-6 ปี  ศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนเทศบาล 2 สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์  อำเภอเมือง  จังวัดเพชรบูรณ์

ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

1.ทักษะการสังเกต   หมายถึง เด็กสามารถบอกความเเตกต่าง  บอกลำดับวัตถุ  จัดสิ่งของให้เป็นหมวดหมู่  โดยใช้เกณฑ์ในการจัดเเบ่ง
2.ทักษะการจำเเนกประเภท  หมายถึง  ความสามารถในการแบ่งพวก  เรียงลำดับวัตถุโดยมีเกณฑ์   เกณฑ์ดังกล่าวอาจจะใช้  ความเหมือน  ความเเตกต่าง  หรือความสัมพันธ์ อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
3.ทักษะหามิติสัมพันธ์  หมายถึง   ความสามารถในการบอกความสัมพันธ์ในการบอกความสัมพันธ์ในมิติต่างๆ  ได้แก่ รูปร่างหรือรูปทรง  ขนาด

สมมุติฐานงานวิจัย
      เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ   มีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง

วิธีการดำเนินการวิจัย

1.กำหนดกลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยครั้งนี้คือ  เด็กปฐมวัยชาย  หญิง  อายุระหว่าง  5-6 ปี  ศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนเทศบาล 2 สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์  อำเภอเมือง  จังวัดเพชรบูรณ์ มีขั้นตอนในการเลือกกลุ่มตัวอย่างดังนี้
 1.1 เลือกกลุ่มตัวอย่างจากนักเรียน 6 ห้องเรียน  โดยจับฉลากมา 1 ห้องเรียนโดยได้นักเรียนชั้นอนุบาล 3/1  จำนวน 30 คน
 1.2 จากกลุ่มตัวอย่างในข้อ 1 สุ่มอย่างง่ายอีกครั้ง

2.เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย
-แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ
-แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
3.ขั้นตอนการวิจัย
-ขอความร่วมมือผู้บรหารโรงเรียนในการทำวิจัย
-ชี้แจงให้ครูประจำชั้นทราบรูปแบบงานวิจัย  และขอความร่วมมือ
-สร้างความคุ้นเคยกับเด็กกลุ่มตัวอย่างเป็นระยะเวลา  3 สัปดาห์
-ก่อนทำการทดลองผู้ทำการทดลองวิจัยต้องทดลองการทำก่อน
-ดำเนินการทดลองโดยการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ ที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์   ระหว่างวันที่ / สิงหาคม 2554 ถึง 22  กันยายน 2554 ใช้เวลาในการทดลอง  8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ  3  วัน  ได้เเก่ วันจันทร์  พุธ  ศุกร์  วันละ  40 นาที   ในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เวลา 09.00 - 09.40 น. รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง
-เมื่อเสร็จสิ้นการดลอง  8 สัปดาห์  ประเมินหลังการทดลองด้วยแบบทดสอบวิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น  pre - Test เพื่อเปรียบเทียบก่อน หลังการทดลอง และใช้คะเเนนเป็นตัววิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีทางสถิติสมมุติฐานเพื่อนสรุปงานวิจัยต่อไป

สรุปผลการวิจัย

1.ก่อนใช้แผนการจัดกิจกรรมเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ  เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับปานกลางทั้งโดยรวมและจำเเนกทักษะ  หลังจากการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติเด็กปฐมวัยกลุ่มตัวอย่างอยู่มีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ทั้งโดยรวมและจำเเนกรายทักษะอยู่ในระดับมากที่สุด
2.หลังการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติเด็กปฐมวัยีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นกว่าก่อนใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติทั้งโดยรมและรายทักษะอย่างมีนัยสำคัญจากสถิติที่ลำดับ 01


ประเมินตนเอง 

ในสัปดาห์นี้ให้คะเเนนตัวเอง 90 คะเเนน เพราะตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย   และมีส่วนร่วมในการตอบคำถามในห้องเรียน  และร่วมกิจกรรมที่คุณครูผู้สอนนำมาให้ทำ และมีความพร้อมในการนำบทความมานำเสนอหน้าชั้นเรียน

ประเมินเพื่อน

ในรายสัปดาห์นี้ให้คะเเนนเพื่อน 100 คะเเนน  เพราะเพื่อนตั้งใจเรียนและเเต่งกายเรียบร้อย  และมีส่วนร่วมในการตอบคำถามในห้องเรียน  และร่วมกิจกรรมที่คุณครูผู้สอนนำมาให้ทำ

ประเมินครูผู้สอน  



ในรายสัปดาห์นี้ให้คะเเนนครูผู้สอน 100 คะเเนนเพราะครูสอนเข้าใจ  เเต่งกายเรียบร้อย  เเละเข้าสอนตรงเวลา  และนำกิจกรรมดีๆมาให้นักศึกษาได้ทำ

วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

2 ธันวาคม 2557

สัปดาห์ที่ 15

วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจาร์ยผู้สอน อาจาร์ยจินตนา  สุขสำราญ
วันที่  25 พฤศจิกายน   2557
ครั้งที่ 15 กลุ่มเรียน  103
เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.  ห้อง 434




     ในรายสัปดาห์นี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาออกไปนำเสนองานหน้าชั้นเรียน โดยมีเกณฑ์การออกไปนำเสนองานดังต่อไป  หากนักศึกษาคนใดเลขที่คี่ ให้ออกไปอ่านบทความเกี่ยวกับโทรทัศน์ครู   แต่หากนักศึกษาคนใดเลขที่คู่ ให้ออกไปนำเสนองานเกี่ยวกับงานวิจัยที่อาจารย์ได้ให้ไปเตรียมมา   โดยดิฉันได้เลขที่คี่จึงนำเสนองานโทรทัศน์ครู  โดยโทรทัศน์ครูที่ดิฉันได้ไปดูมา เรื่อง   ภาชนะจากเส้นใยธรรมชาติ  และอาจารย์ได้มีกิจกรรมมาให้นักศึกษาทำเกี่ยวกับเรื่องคุณสมบัติของน้ำ คือการเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของเเข็ง  โดยมีวิธีการทำดังต่อไปนี้คะ






เรื่องคุณสมบัติของน้ำ




อุปกรณ์ในการทำ

1.กรวยตวงน้ำ
2.หม้อ
3.ช้อน ทับพี
4.น้ำเปล่า
5.น้ำหวาน น้ำเเดง
6.น้ำเเข็ง
7.ถุงพลาสติก
8.ยาง





วิธีการทำ

1.นำน้ำหวานผสมกับน้ำเปล่า





2. นำน้ำหวานที่ผสมกับน้ำเปล่าเรียบร้อยแล้วใส่ถุง 




3.นำที่ตวงน้ำมาช่วยใช้ในการตวงน้ำใส่ถุง




4.นำหนังยางรัดปากถุงให้แน่น



5.นำน้ำหวานที่ใส่ถุงมัดยางเรียบร้อยแล้ว  ใส่ลงในหม้อน้ำเเข็งที่เตรียมไว้









6.จากนั้นหมุนหม้อน้ำหวานไปมาซ้ายขวา  
ประมาณ10 -15 นาทีน้ำหวานจากสถานะของเหลว 
ก็จะเปลี่ยนสถานะเป็นของเเข็ง





เทคนิคการสอน

กิจกรรมนี้ดิฉันคิดว่าเป็นกิจกรรมที่ดี เพราเนื่องจากเด็กได้ลงมือปฎิบัติจริงแล้วเด็กยังได้รับความรู้จากการทำกิจกรรมนี้อีก   ซึ่งเด็กจะได้ทราบถึงการเปลี่ยนสถานะของน้ำที่เปลี่ยนจากของเหลวเป็นสถานะของของเเข็ง  และเรายังสามารถนำกิจกรรมนี้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กได้ในวิชาชีพครู  และถ้าเรามีความรู้มากๆ เราก็สามารถนำไปประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ตนเองได้อีกด้วย 



ประเมินตนเอง 

ในสัปดาห์นี้ให้คะเเนนตัวเอง 90 คะเเนน เพราะตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย   และมีส่วนร่วมในการตอบคำถามในห้องเรียน  และร่วมกิจกรรมที่คุณครูผู้สอนนำมาให้ทำ และมีความพร้อมในการนำบทความมานำเสนอหน้าชั้นเรียน

ประเมินเพื่อน

ในรายสัปดาห์นี้ให้คะเเนนเพื่อน 100 คะเเนน  เพราะเพื่อนตั้งใจเรียนและเเต่งกายเรียบร้อย  และมีส่วนร่วมในการตอบคำถามในห้องเรียน  และร่วมกิจกรรมที่คุณครูผู้สอนนำมาให้ทำ

ประเมินครูผู้สอน  

ในรายสัปดาห์นี้ให้คะเเนนครูผู้สอน 100 คะเเนนเพราะครูสอนเข้าใจ  เเต่งกายเรียบร้อย  เเละเข้าสอนตรงเวลา  และนำกิจกรรมดีๆมาให้นักศึกษาได้ทำ




วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 14

วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจาร์ยผู้สอน อาจาร์ยจินตนา  สุขสำราญ
วันที่  18 พฤศจิกายน   2557
ครั้งที่ 14 กลุ่มเรียน  103
เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.  ห้อง 434





      ในรายสัปดาห์นี้เป็นการเรียนการสอนเกี่ยวกับการทำวาฟเฟิล  โดยอาจารย์ได้นำอุปกรณืมาให้นักศึกษาได้ทำกันในห้องเรียน  ดิฉันคิดว่าเป็นกิจกรรมที่ดีอีกอย่างหนึ่งซึ่งเราได้ลงมือปฏิบัติและทดลองทำจริง  และนักศึกษาทุกคนได้มีส่วนร่วมในการทำทุกคน  นอกเหนือจากนี้เราสามารถนำไปทำเป็นอาชีพเสริมหรือ ทำรัปทานเองได้ และสิ่งที่ขาดไม่ได้คือเราสามารถเราไปใช้ในการเรียนการสอนต่อวิชาชีพครูในอนาคตได้  เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาเรามาช่วยกันทำวาฟเฟิลกันดีกว่าคะ   



ขนมวาฟเฟิล  ( waffle )






อุปกรณ์

1.แป้งสำเร็จรูป 
2.นมสด
3.เนย
4.ไข่ไก่
5.น้ำร้อน
6.ถ้วยเล็ก
7.เตา waffle
8. ที่ตีไข่


วิธีการทำ waffle

1. นำนมสด น้ำร้อน แป้งสำเร็จรูปมาผสมและตีให้เข้ากัน






2.ตอกไข่ไก่ใส่ถ้วยแล้วคนให้เข้ากัน



                                 
3.ใส่เนยลงไปแล้วคนให้เเป้งละเอียด






4.นำเนยมาวางในเตา waffle เพื่อไม่ให้แป้งติดเตา






5.หลังจากทาเตาเรียบร้อยแล้วนำเเป้งที่ผมไว้เทลงไปในเตา waffle แล้วปิดฝา







6.ได้กลิ่นหอม เปิดเตาวาฟเฟิล จะได้ waffle ที่อร่อย




        อย่างไรก็ตาม waffle จะอร่อยหรือไม่อร่อยขึ้นอยู่กับการผสมส่วนผสมต่างว่ามากหรือน้อยเกินไป  จะเห็นได้ว่า waffle ทำได้ง่าย และสามารถทำรับประทานกินเองได้ โดยมีค่าใช้จ่ายไม่มากและอุปกรณ์การทำก็สามารถหาได้ง่ายอีกด้วยคะ และยังไม่พอเราสามารถนำมาสร้างรายได้ สร้างอาชีพให้แก่ตนเองได้ด้วยคะ

เทคนิคการสอน  

อาจารย์ผู้สอนจะเน้นเกี่ยวกับการให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง  รับประสบการณ์ตรงในการทำกิจกรรม  เพื่อให้เด็กสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง  เช่น การนำไปใช้ในการเรียนการสอนเด็กได้จริง   การนำไปสร้างรายได้  สร้างอาชีพได้   และการทำกิจกรรมนี้เป็นการให้เด็กทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนอีกด้วย กิจกรรมนี้กิจทำขนมวาฟเฟิลยังส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็ก คือ   ด้านร่างกาย    ด้านอารมณ์  ด้านสังคม     และด้านสติิิปัญญา  คะ

การนำไปประยุกต์ใช้

- ใช้ในการสร้างรายได้สร้างอาชีพในอนาคตได้
- ใช้ในการเรียนการสอนในอนาคต
- นำไปเป็นกิจกรรมใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์




ประเมินตนเอง  

ในรายสัปดาห์นี้เเต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน เเละเข้าเรียนตรงต่อเวลา 

ประเมินเพื่อน  

ในรายสัปดาห์นี้เพื่อนๆตั้งใจเรียน และตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์เตรียมมาให้ทำ  มีความสามัคคีกัน และร่วมกิจกรรมกันอย่างสนุกสนาน

ประเมินครูผู้สอน 

ในรายสัปดาห์นี้อาจารย์ผู้สอนนำการเรียนการสอนที่ดีมาสอนนักเรียน เพราะสามารถนำไปใช้ในวิชาชีพที่เรียนได้และสามารถนำไปสร้างรายได้  สร้างอาชีพในอนาคตของตนเองได้คะ  นับเป็นกิจกรรมที่ดีเลยทีเดียว



วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

12 พฤศจิกายน 2557

สัปดาห์ที่ 13

วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจาร์ยผู้สอน อาจาร์ยจินตนา  สุขสำราญ
วันที่  11 พฤศจิกายน   2557
ครั้งที่ 13 กลุ่มเรียน  103
เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.  ห้อง 434




       ในรายสัปดาห์นี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาออกไปนำเสนอแผน โดยมีกลุ่มที่ออกไปนำเสนอการสอนใหหน่อยต่างๆดังต่อไปนี้  หน่วยสับปะรด  หน่วยส้ม   หน่วยทุเรียน    หน่วยมดแดง   โดยเเต่ละกลุ่มก็มีการเรียนการสอนที่หลากหลายกันไป ทั้งขั้นนำ  ขั้นสอน  ขั้นสรุป และบางครั้งก็ได้กลับไปแก้ไข โดยเฉพาะกลุ่มของดิฉันเองที่ต้องนำกลับมาแก้ไข และคิดว่าต้องพัฒนาและควรไปปรึกษาอาจารย์ที่ีปรึกษามากขึ้นกว่าเดิม  เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาเรามาดูชมรูปแบบการเรียนการสอนของแต่ละหน่วยกันเลยคะ



หน่วยส้ม



  


ขั้นนำ

    เป็นการสอนเกี่ยวกับเพลงส้ม  บอกถึงส้มมีหลายชนิด  ทั้งส้มเขียวหวาน  ส้มแบนดาริน  ส้มเช้ง  
ส้มโชกุน  ส้มสายน้ำผึ้ง  และลักษณะของส้มเป็นแบบใด

ขั้นสอน

   สอนการเรียงเลขโดยใช้ส้มเป็นการเรียงต่อๆกัน  แล้วหยิบเลขมาต่อ เลข 1-9  
มาติดให้ถูกต้องตามลำดับ

ขั้นสรุป

  ครูผู้สอนมีการซักถามว่าส้มมีชนิดอะไรบ้าง ลักษณะของส้มมีอะไรบ้าง  แล้วให้เด็กนับเลข  1-9  




หน่วยทุเรียน




ขั้นนำ

     ครูใช้คำถามว่า  มีผลไม้อะไรเอ่ยมีหนามแหลมๆ   แหวกออกมามีสีเหลืองๆ  ขาวๆ   
กลิ่นหอมๆ  บางคนก็เหม็น  เด็กก็ตอบว่าทุเรียน  ครูก็พูดถึงลักษณะทั่วไปของทุเรียน 

ขั้นสอน

  ครูบอกลักษณะของทุเรียนว่ามีลักษณะอย่างไร  ครูบอกชนิดของทุเรียนว่ามีลักษณะแบบใด  โดยทุเรียนมีหลายชนิด  เช่น  ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง  ทุเรียนพันธ์ุก้านยาว  ทุเรียนพันธ์ุกะดุม  เป็นต้น 
และครูก็บอกวิธีการเลือกว่าทุเรียนพันธ์กะดุมจะมีลักษณะลูกเล็กกว่าพันธ์ุอื่นๆ และเปลือกจะบาง

ขั้นสรุป

ครูซักถามว่าเด็กเคยกินทุเรียนอะไรบ้าง  เด็กๆอยากกินทุเรียนไหม  เด็กบอกลักษณะของทุเรียนให้คุณครูฟังหน่อยได้ไหมจากที่คุณครูบอกไปเมื่อกี้ เด็กคนไหนจำได้บ้างเอ่ย เด็กก็ตอบคำถามที่คุณครูถาม




หน่วยมดแดง








ขั้นนำ  

คุณครูร้องเพลงมด
มดมดมด  หนูเคยเห็นมดหรือป่าว   มดมันตัวเล็ก 
 และเบามีขายาวๆเดินหากัน   มีบ้านใต้ดินเรียกว่ารัง  หนูๆจงฟังไว้เอย

ขั้นสอน

คุณครูบอกลักษณะ สีของมด  ขนาดของมด  กลิ่นของมด   
ส่วนประกอบในร่างกายของมด  เเขน ขา หัว  ตา และชนิดของมด 


ขั้นสรุป

เด็กๆสามารถบอกข้อเเตกต่างและเหมือนของมดดำและมดแดงได้เหมือนกัน
คือ  ตา  หัว  ปาก  หนวดมี 2 หนวด   ท้อง 
ข้อแตกต่าง  คือ  สี  กลิ่น
 มดแดงกลิ่นเปรี้ยว  มดดำกลิ่นฉุน  
มดแดงมีขนาดใหญ่  มดดำมีขนาดเล็ก



กิจกรรมการทำไข่หลุม






เป็นการทำกิจกรรมที่เเบ่งนักศึกษาออกเป็น  5  กลุ่มหรือ 5 ฐาน โดยให้แต่ละฐานมีหน้าที่ดังต่อไปนี้ 

1.ฝ่ายตัดกระดาษให้เป็นรูปวงกลมแจกเพื่อน
2.ฝ่ายหั่นผัก ปูอัด  แครอท
3.ฝ่ายข้าว 
4.ฝ่ายตอกไข่  เจียวไข่ให้เข้ากัน
5.ฝ่ายดูแลการนำไข่ไปใส่ในหลุม  

อุปกรณ์การทำไข่หลุม

1.ไข่ไก่
2.น้ำปลา แม็กกี้  ซอส 
3.ผักหัวหอม 
4.แครอท
5.ปูอัด
6.กระดาษ
7.มีด
8.กรรไกร
9.ข้าว
10.ถ้วย
11.ช้อน 
12.ซ่อม

วิธีการทำไข่หลุม 

1.ให้ทุกคนตอกไข่คนละ 1 ลูก คนให้ไข่แตกคล้ายไข่เจียว
2.ใส่ผัก  นำ้ปลา ปูอัด แครอท  ข้าว
3.คนให้เข้ากัน ไม่เหลวจนเป็นน้ำเกินไป
4.นำไข่ที่ใส่ส่วนผสมเรียบร้อยแล้วไปใส่ในหลุมที่ตั้งไฟไว้ 
5.รอเวลาพลิกไข่ รอไข่สุก
6.เมื่อไข่สุกแล้วนำใส่กระดาษวงกลมที่เตรียมไว้ แล้วนำไปใส่ถ้วยของกลุ่มตนเอง
7.รอไข่เย็น รับประทานไข่ที่ตนเองทำ

       โดยทุกฐานทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม  โดยมีการรับหน้าที่วนกันไป สลับกันไป  ใครนำใครไปใส่ในหลุมแล้วก็กลับไปนั่งที่ แลัวให้เพื่อนมาทำต่อ  


    ในการทำกิจกรรมไข่หลุม เด็กก็จะได้พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือด้านร่างกาย  ด้านอารมณ์  ด้านสังคม  และด้านสติปัญญา 

ด้านร่างกาย   เด็กได้ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก  มัดใหญ่ การใช้นิ้ว  มือ ในการหยิบจับสิ่งของ  การคนไข่ 
ด้านอารมณ์  เด็กแสดงออกทางสีหน้าท่าทาง  อารมณ์ยิ้มแย้มแจ่มใส  
ด้านสังคม     เด็กได้ทำงานร้วมกับผู้อื่น  เพื่อน  ครู
ด้านสติปัญญา เด็กได้ใช้ทักษะการคิดในการทำไข่หลุม  การตอกไข่  การปรุงไข่ให้มีรสชาติอร่อย 






เทคนิคการสอน

    เน้นให้เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรมเอง  ให้เด็กแก้ปัญหาและเกิดทักษะใหม่ๆในการลงมือทำกิจกรรม เช่น  การปรุงรส    การใส่เครื่องปรุง  กิจกกรมนี้ส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือด้านร่างกาย  อารมณ์  สังคม  และสติปัญญา  และยังส่งเสริมให้เด็กมีความรักความสามัคคีในหมู่คณะอีกด้วย 


ประเมินตนเอง 

ในสัปดาห์นี้ให้คะเเนนตัวเอง 90 คะเเนน เพราะตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย   และมีส่วนร่วมในการตอบคำถามในห้องเรียน  และร่วมกิจกรรมที่คุณครูผู้สอนนำมาให้ทำ 

ประเมินเพื่อน

ในรายสัปดาห์นี้ให้คะเเนนเพื่อน 100 คะเเนน  เพราะเพื่อนตั้งใจเรียนและเเต่งกายเรียบร้อย  และมีส่วนร่วมในการตอบคำถามในห้องเรียน  และร่วมกิจกรรมที่คุณครูผู้สอนนำมาให้ทำ

ประเมินครูผู้สอน  

ในรายสัปดาห์นี้ให้คะเเนนครูผู้สอน 100 คะเเนนเพราะครูสอนเข้าใจ  เเต่งกายเรียบร้อย  เเละเข้าสอนตรงเวลา  และนำกิจกรรมดีๆมาให้นักศึกษาได้ทำ