Rainbow Lucky Charms

วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557

23 กันยายน 2557

สัปดาห์ที่ 6

วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจาร์ยผู้สอน อาจาร์ยจินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 23กันยายน 2557
ครั้งที่ 6 กลุ่มเรียน  103
เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.  ห้อง  434 





         ในรายสัปดาห์นี้ดิฉันไม่ได้เข้าเรียน  เนื่องจากลากิจกลับบ้านอย่างกระทันหัน เเต่ได้ไปศึกษาบทความที่เพื่อนนำ present ตามความเข้าใจ  โดยเพื่อนออกมานำเสนอบทความดังต่อไปนี้



miss wiranda  Khayanngan

          การส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับพืชต่างๆ พ่อแม่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ซึ่งสามารถจัดกิจกรรมเรียนรู้ให้เด็กง่ายๆจากกิจวัตรประจำวัน หรือสิ่งแวดล้้อมรอบตัว เช่น การเข้าครัวทำอาหารที่เกี่ยวกับผัก เด็กก็จะได้เรียนรู้ไปในตัว ว่าผักชนิดนั้นที่เขาช่วยคุณแม่ล้างเป็นผักอะไร มีประโยชน์ อย่างไร นอกจากเด็กได้เรียนรู้เกี่ยวผักแล้วยังเป็นการสร้างสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวอีกด้วย

                                                  


  
miss arunjit Hanhao

         นิทานมีส่วนช่วยในการเรียนรู้คือ มีรูปภาพ เนื้อหาไม่เยอะจนเกินไป ฟังง่าย สั้นๆกระชับ เรามักจะนำเนื้อหาความรู้ สอดแทรกผ่านการเล่านิทาน 
การร้องเพลง ลักษณะของเพลงต้องมีจังหวะ ทำนอง ฉะนั้นการเล่านิทานจึงง่ายกว่าการร้องเพลงประกอบเนื้อหาแต่ถ้ามองในความชอบของเด็ก เด็กจะชอบการเล่าเนื้อหา ประกอบเพลงมากกว่า

                                                                   
                                                          

miss  Nattida Rattanachai

      เรื่องแนวทางสอนคิด เติมวิทย์ ให้เด็กอนุบาล
ดร.วรนาท รักสกุลไท นักการศึกษาปฐมวัยผู้อำนวยการโรงเรียนเกษมพิทยา (ฝ่ายอนุบาล) กล่าวว่า  เราคงทราบดีกันอยู่เเล้วว่าวิทยาศาสตร์มีความสำคัญเพียงใด แต่สำหรับเด็กอนุบาล แนวทางการสอนต่างหากที่จะทำให้เด็กสนใจสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ครูต้องแม่นยำในพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียรู้ ได้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กรวมถึงต้องอย่าลืมเรื่องจินตนาการที่มีสูงในด็กวัยนี้

                                            




 miss Anitimom  Samma

      เรื่อง การทดลองวิทยาศาสตร์สนุกๆกับคุณหนูๆ
การทดลองวิทาศาสตร์สำหรับเด็กยังช่วยฝึกให้ลูกน้อยเพิ่มทักษะความรู้ เกี่ยวกับการสังเกตและการค้นคว้าหาคำตอบด้วยเหตุและผล ทักษะการมอง ทักษะการฟัง  ทักษะการดม ทักษะการลิ้มรสช่วย ทักษะการสัมผัส เป็นต้น



                                                      




ศึกษาเพิ่มเติม

วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบเฟรอเบล (Froebelian Mode)

                เฟรอเบลเน้นการจัดประสบการณ์การศึกษาอนุบาลในภาพรวมนับแต่การจัดสิ่งแวดล้อม การจัดตารางเวลากิจกรรมประจำวัน การจัดกิจกรรมต่างๆ สำหรับเด็กในชั้นเรียนทั้งที่เป็นกิจกรรมเคลื่อนไหว ดนตรี ขับร้อง สำหรับวิธีการจัดการเรียนการสอนที่นำเสนอต่อไปนี้จะเน้นเฉพาะช่วงกิจกรรมวงกลม ซึ่งเป็นช่วงการเรียนรู้เนื้อหาสาระจากชุดอุปกรณ์ ประกอบด้วยการเตรียมและการดำเนินการ
                การเตรียม
                ครูผู้สอนต้องประเมินพัฒนาการของเด็ก ความสนใจของเด็ก และความพร้อมในการเรียนด้วยการสังเกตเด็ก แล้วจึงมาเตรียมชุดอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับเด็ก พร้อมออกแบบประสบการณ์และกิจกรรมสำหรับเด็ก จากนั้นวางแผนขั้นตอนการสอนด้วยการเล่นชุดอุปกรณ์เป็นลำดับ
                การดำเนินการ
ขั้นนำ เริ่มกิจกรรมการสอนด้วยการทำให้เด็กสงบ อาจเป็นการร้องเพลง กิจกรรมคำคล้องจอง เป็นต้น เมื่อเด็กพร้อมจึงเริ่มการเรียน
ขั้นสอน ครูบอกจุดประสงค์การเรียน แล้วเสนอชุดอุปกรณ์ที่จะให้เด็กนำไปเล่นและสร้างสรรค์ผลงานตามความสนใจ โดยมีครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก และกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์และแผนที่วางไว้ ครูจะไม่เข้าไปจัดการเด็กในขณะทำกิจกรรมการเรียน แต่สร้างบรรยากาศให้เป็นการเล่นอย่างธรรมชาติ
ขั้นสรุป ครูและผู้เรียนร่วมกันสรุปสิ่งที่เรียนรู้ร่วมกัน เมื่อเรียนจบแล้วเด็กสามารถไปทำกิจกรรมการเรียนรู้อื่นๆ ที่จัดเตรียมไว้อีก เช่น ศิลปะสร้างสรรค์ ฟังนิทาน ร้องเพลง หรือกิจกรรมเคลื่อนไหว เป็นต้น
                ในการจัดการเรียนการสอนนี้ ตารางกิจกรรมประจำวันมีความสำคัญ เฟรอเบลมีการพัฒนาตารางกิจกรรมวันขึ้นมาเพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาครอบคลุบทุกด้าน ทั้งร่างกาย  จิตใจ อารมณ์   สังคม จากแนวคิดนี้ได้เป็นต้นแบบของตารางกิจกรรมประจำวันของการศึกษาอนุบาลในปัจจุบัน ที่เฟรอเบลจะให้เด็กนั่งเป็นวงกลมร้องเพลงแล้วเล่นชุดอุปกรณ์ ปัจจุบันเรียก กิจกรรมวงกลม ส่วนกิจกรรมสร้างเสริมสุนทรีและเพลิด ได้แก่ กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ กิจกรรมกลางแจ้ง และเกมการศึกษา แต่ละวันครูจะจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับบรรยากาศและสภาพความต้องการของเด็ก
การประเมินผล
                 การประเมินผลการเรียนของเฟรอเบลเน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลที่พัฒนาไปตามลำดับ ชุดอุปกรณ์ จุดเน้นสำคัญของเฟรอเบลอยู่ที่การเรียนอย่างมีความสุข เป็นธรรมชาติ เพราะเฟรอเบลเชื่อว่า การเล่นคือสื่อสร้างการเรียนรู้และเข้าใจภายในด้วยตัวของเด็กเองที่เป็นไปตามกลไกชีวิต เด็กจะเรียนรู้ได้ดีเมือมีความพร้อมที่จะเรียนด้วยการเล่นและการมีกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม

การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
                การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ของเฟลอเบลเป็นเรื่องของการจัดการศึกษาอนุบาลทั้งระบบ ตั้งแต่การสอนหลักสูตร เนื้อหาที่เด็กต้องเรียนรู้ การเตรียมครูและการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการสอนเด็ก บรรยากาศของเรียนรู้เน้นเป็นธรรมชาติ ความเพลิดเพลิน ความเป็นอิสระในการเล่นและการเรียนรู้ โดยมีครูเป็นผู้จัดวางจัดประสบการณ์ให้เด็กอย่างเป็นแบบแผน สิ่งแวดล้อมของโรงเรียนมีความหมายกับเด็กเป็นอย่างมาก  โรงเรียนของเฟรลเบลประกอบด้วยสวนที่สวยงาม มีสนาม มีมุมของเล่น ที่เด็กสามารถเข้าไปเล่นได้ตามความสนใจ มีบริเวณสำหรับทำกิจกรรมเคลื่อนไหว ดนตรี หรือแม้แต่กิจกรรมอื่นๆ ซึ่งลักษณะการจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ของเฟรอเบลนี้ ก็คือ รูปแบบของการจัดสิ่งแวดล้อมโรงเรียนอนุบาลในปัจจุบัน




ระเมินตนเอง 

ในสัปดาห์นี้ให้คะเเนนตัวเอง 70  คะเเนน เพราะไม่ได้เข้าเรียน แต่มีความกระตือรือร้นในการสอบถามงานจากเพื่อน


ประเมินเพื่อน

-

ประเมินครูผู้สอน  

-






16 กันยายน 2557

สัปดาห์ที่ 5

วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจาร์ยผู้สอน อาจาร์ยจินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 16 กันยายน 2557
ครั้งที่ 5 กลุ่มเรียน  103
เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.  ห้อง  434






          อาจารย์เปิดเพลงให้ฟังเกี่ยวกับเพลง วิทยาศาสตร์ พอเพลงจบ 
อาจารย์ได้ถามเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นว่าเกิดขึ้นเพราะอะไรเพราะนักศึกษาไม่ได้ตั้งใจฟัง ทำให้ฟังเพลงไม่รู้เรื่อง เสียงที่คุยกันดังกว่าเสียงเพลงที่อาจารย์เปิดทำให้นักศึกษาไม่เข้าใจเนื้อหาของเพลงไม่เข้าใจเพลงที่อาจารย์เปิดสิ่งที่เกิดขึ้นไม่เกิดประโยชน์ต่อนักศึกษาเพราะทำให้นักศึกษาไม่เข้าใจ


ควรปรับปรุงแก้ไขคือควรตั้งใจฟังเพลงให้จบ แล้วจับใจความเนื้อหาของเพลง   ว่าอาจารย์ต้องการจะสื่ออะไรกับนักศึกษาแล้วนำมาตอบคำถามในห้องเรียน


บทความของเพื่อน

 1.การสอนเรื่องปรากฎการณ์ธรรมมีความสำคัญอย่างไร ?
 2.วิทยาศาสตร์กับเด็กปฐมวัย

   ทักษะที่ได้รับ

- การเรียงลำดับ
- การจำแนก
- การสังเกต

สาระที่เด็กควรเรียนรู้

- เรื่องราวเกี่ยวกับคนและสถานที่และสิ่งแวดล้อม
- ธรรมชาติรอบตัว
- สิ่งต่างๆรอบตัวเรา

สรุป ความลับของแสง  The Secret of Light 

   แสงมีความสำคัญกับตัวเรามากเพราะแสงช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆ ซึ่งจะเป็นคลื่นชนิดหนึ่งที่สั้นและยาว แสงยังเคลื่อนที่ได้เร็วถึง 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที ถ้าวิ่งได้เร็วเท่าแสงจะวิ่งได้ 7 รอบต่อวินาทีแสงยังช่วยในการมองเห็นของรอบตัวเราได้เพราะแสงส่องสว่างลงมากระทบวัตถุหนึ่งต่อวัตถุหนึ่งทำให้เรามองเห็นสิ่งของได้

 การเคลื่อนที่ 

300,000 กิโลเมตรต่อวินาที วิ่งรอบโลก 7 รอบต่อวินาที

ประเภทของวัตถุ

- วัตถุโปร่งแสง < Translocent objects>
- วัตถุโปร่งใส  < Transparent objects>
- วัตถุทึบแสง  < Opaque objects>

คุณสมบัติ

- การหักเหของแสง
- การเดินทางของแสงเป็นเส้นตรง
- การสะท้อนของแสง

ประโยชน์

 - กล้องส่องทางไกล , ทำกล้องฉาพภาพ
 -  ทำให้มองเห็นสิ่งรอบตัวได้ชัดขึ้น
-  ขยายภาพ การจุดไฟ




เเสง












ประเมินตนเอง 

ในสัปดาห์นี้ให้คะเเนนตัวเอง 90 คะเเนน เพราะตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย   และมีส่วนร่วมในการตอบคำถามในห้องเรียน

ประเมินเพื่อน

ในรายสัปดาห์นี้ให้คะเเนนเพื่อน 100 คะเเนน  เพราะเพื่อนตั้งใจเรียนและเเต่งกายเรียบร้อย  และมีส่วนร่วมในการตอบคำถามในห้องเรียน

ประเมินครูผู้สอน  

ในรายสัปดาห์นี้ให้คะเเนนครูผู้สอน 100 คะเเนนเพราะครูสอนเข้าใจ  เเต่งกายเรียบร้อย  เเละเข้าสอนตรงเวลา   และ power point  มีความสวยงามดูแล้วมีความสะอาดตามากคะ

วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557

วันที่ 9 กันยายน 2557



สัปดาห์ที่ 4

วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจาร์ยผู้สอน อาจาร์ยจินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 9 กันยายน 2557
ครั้งที่ 4  กลุ่มเรียน  103
เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.  ห้อง  434





ในการเรียนการสอนรายสัปดาห์นี้ดิฉันได้ความรู้ต่างๆมากมาย สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนในสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยได้จริง  สัปดาห์นี้เพื่อนๆได้นำบทความมาให้ความรู้    โดยบทความมีทั้งหมด 5 บทความ เรามาเรียนรู็และทำความเข้าใจกันคะ

1.บทความจุดประกายเด็กคิดนอกกรอบ

 กล่าวว่าของเล่นนั้นจะอยู่คู่กับเด็กทุกคน  ทั้งของเล่นพื้นบ้าน และวิทยาศาสตร์  คุณครูนพพร คุณครูพี่เลี้ยงจึงไ้จัดเด็กกลุ่มอนุบาลเข้าร่วมนิทรรศการเพื่อให้เด็กสืบเสาะหาความรู้ และได้ทดลองเกี่ยวกับกิจกรรมที่นิทรรศการจัดขึ้น  โดยกิจกรรมที่ครูนพพรพาเด้กไปเข้าร่วมเป้นการหาความรู้จากของเล่น เช่น  การพับแฮลิคอปเตอร์กระดาษ  จรวด  เเละเครื่องบิน  ซึ่งเป็นความคิดดสร้างสรรค์นอกกรอบ  เกี่ยวกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์คือ  ต้องการให้เด็กทราบถึง   ความสูง - ต่ำ  ในการโยนจรวดลงสู่พื้นดิน  

2.บทความทำอย่างไรให้ลูกสนใจวิทยาศาสตร์ 

     กล่าวว่าวิธีการทำให้ลูกน้อยสนใจวิทยาศาสตร์มีวิธีง่ายๆคือ 
  2.1 ให้ลูกน้อยอ่านหนังสือการ์ตูน เช่น หนังสือโดเรมอน  เพราะมีความรู้ทางวิทยาศตร์เข้ามาเกี่ยวข้อง
  2.2 ซื้อเกราะกิจกรรมการทดลอง  ซื้อหนังสือทดลองที่สามารถทำที่บ้าน   เช่น  การพับกระดาษ  พีระมิด  การตัดพิซซ่า  เป็นต้น 
  2.3 พาเด็กเข้าร่วมพิพิธภัณฑ์  เพราะเด็กสามารถเข้าร่วมการทดลองได้  เเละยังสามารถช่วยกระตุ้นให้เด็กกล้าเเสดงออกในการทดลองให้แก่เด็ก   ทำให้เด็กเกิดกระบวนการเรียนรู้

3.บทความวิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์สำคัญอย่างไรกับอนาคตของชาติ

 เป็นการจัดเสวนาโดยเรียนเชิญผู้ที่มีความสำคัญทางการศึกษาปฐมวัย  เช่น ครูธิดา  
ครูธิดา กล่าวว่า  ในการเล่นครูต้องให้เด็กลงมือปฎิบัติจริงแล้วครูคอยประเมินพฤติกรรมของเด็กอยู่ห่างๆ  และชวนเด็กตั้งคำถามไปเรื่อยๆ  จะทำให้เด็กเกิดความสงสัยและอยากหาคำตอบ เเละอยากทำการทดลอง  ซึ่งทำใหห้เด็กได้เรียนรู้และปฎิบัติจริงในการทำกิจกรรม และการจัดประสบการณ์ 

4.บทความเมื่อลูกน้อยเรียนรู้วทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์จากดนตรี

โดยให้ครูปฐมวัยให้เด็กปฐมวัยส่งลูกบอลจากตนไปหาเพื่อน  บางคนส่งช้า  บางคนส่งเร็ว  และบางคนส่งตามจังหวะเสียง  หลังจากนั้นชวนเด็กเข้าร่วมกิจกรรมการอบรม  โดยให้เด็กหาอุปกรณ์ชนิดใดก็ได้มาทำกิจกรรมที่เกิดเสียง   และผู้จัดกิจกรรมมีการซักถามว่า  อุปกรณ์ที่นำมาเกิดเสียงอะไรบ้าง  เช่น    เสียงเบา  เสียงแหลม  เสียงทุ้ม  เสียงดัง  เสียงสูง   เสียงต่ำ  และขึ้นอยู่กับปริมาณที่หลากหลาย  
เช่น   -เสียงเกิดจากวัตถุกระทบกัน    
        -วัตถุที่ต่างกันทำให้เกิดเสียงที่ต่างกัน

5.บทความการจัดการเรียนรูวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วัตถุประสงค์  -ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของเด็ก
                  -เพื่อให้เด็กเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว 
                  -เพื่อส่งเสริมทักษะด้านต่างๆ
ในการทดลองเด็กจะใช้ทักษะการสังเกตุ  และประมวลความคิด  และบอกเหตุผล และจึงสร้างสรรค์ชิ้นงานออกมาโดยใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์  การใช้เหตุผล  ไปถึงทักษะการคิดอย่างสร้างสรรค์

เป้าหมาย   -แสดงความตระหนักรู้  ลงมือปฎิบัติ  สำรวจ  ตั้งคำถาม 
                -ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์
                -รู้จักการใช้เหตุผล  กลัวการตัดสินใจ
                -เด็กได้ช่วยเหลือตนเอง  และทำงานร่วมกับเพื่อน


และยังกล่าวไปถึง ทักษะวิทยาศาสตร์ 
ทักษะวิทยาศาสตร์  หมายถึง  การศึกาาสืบค้นและจัดระบบความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติโดยอาศัยกระบวนการเเสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์  ที่ประกอบด้วยวิธีการ    ทักษะกระบวนการ  และเจตคติทงวิทยาศาสตร์อย่างมีระบบแบบแผน  มีขอบเขตโดยอาศัยการสังเกตุ   การทดลองเพื่อค้นหาความจริง  และทำให้ได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ึ่ซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วกัน

เเนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

1.การเปลี่ยนแปลง
2.ความแตกต่าง  ความคล้ายคลึงกัน
3.การปรับตัว  ( สภาพเเวดล้อม อากาศ สังคม )
4.การพึ่งพาอาศัยกัน
5.ความสมดุล


การศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์

1.ขั้นกำหนดปัญหา 
2.ขั้นตั้งมติฐาน 
3.ขั้นรวบรวมข้อมูล
4.ขั้นลงข้อสรุป


เจตคติทางวิทยาศาสตร์

1.ความอยากรู้อยากเห็น 
2.ความเพียรพยายาม  
3.ความมีเหตุผล
4.ความซื่อสัตย์
5.ความมีระเบียบและรอบคอบ
6.ความใจกว้าง


ความสำคัญของวิทยาศาสตร์

1.ตอบสนองความต้องการ 
2.พัฒนาการทักษะกระบวนการ
3.เสริมสร้างประสบการณ์



ประโยชน์ของวิทยาศาสตร์

1.พัฒนาความต้องการพื้นฐาน
2.สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง
3.พัฒนาทักษะการเเสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์






คําศัพท์  (vocabulary)



1.จุดประกาย  ( spark )


2.พิพิธภัณฑ์  ( museum )


3.พิพิธภัณฑ์เชิงงปฎิสัมพันธ์ ( interractive )


4.ความเเตกตต่าง ( Differrent )


5.ความเพียรพยายาม ( pertinacit
y )


6.ความมีเหตุผล  ( reasonable )




บทความของฉัน


เรื่องไม่เล็กของเด็กชายขอบ กับการสร้างกระบวนการเรียนรู้วิทย์แบบบูรณาการ

         


        บนผืนดินถิ่นทุรกันดารตามแนวรอยต่อพรมแดนไทย-พม่า จังหวัดตาก ยังมีเด็กเยาวชนชายขอบจำนวนมากที่รอคอยความช่วยเหลือจากทุกภาคส่วนในสังคม เพื่อคืนโอกาสในการเข้าถึงระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ โดยก้าวข้ามผ่านมิติที่แตกต่างทางภาษา ชาติพันธุ์ ระยะทางที่ห่างไกล และความเหลื่อมล้ำใด ๆ
        สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้ริเริ่ม “โครงการบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีปฐมวัย” มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 เพื่อร่วมเป็นกำลังสนับสนุนโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ภายใต้แนวทางการจัดอบรมครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ให้มีทักษะการจัดกิจกรรมบูรณาการสหวิชา ตลอดจนสนับสนุนสื่ออุปกรณ์การศึกษาต่าง ๆ เพื่อต่อยอดการเรียนรู้ของเด็ก ผ่านกระบวนการสืบเสาะ 4   ขั้นตอน ได้แก่ การตั้งคำถาม การสำรวจตรวจสอบ การตอบคำถาม และนำเสนอผลการสำรวจตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง
        “วิทยาศาสตร์ คือ กระบวนการแสวงหาคำตอบและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งครูสามารถใช้สิ่งแวดล้อมรอบตัว มาสร้างกิจกรรมการเรียนการสอนโดยไม่ต้องมีห้องทดลองหรืออุปกรณ์ไฮเทคใด ๆ ขอเพียงให้เด็กได้ฝึกฝนกระบวนการคิดวิเคราะห์ การสังเกต จำแนก เปรียบเทียบ และสรุปความรู้ ซึ่งเด็กสามารถนำไปใช้แก้ปัญหากับทุกเรื่องที่ต้องเผชิญต่อไปในอนาคต” ดร.เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว นักวิชาการ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กล่าว
ในแต่ละปี สสวท. จะมีการจัดอบรมครูจากโรงเรียนในโครงการฯ ปีละ 1 ครั้ง ใช้เวลาทั้งสิ้น 5 วัน ซึ่งครูที่ผ่านการอบรมจะถูกพัฒนาเป็นครูแกนนำเพื่อไปขยายผลต่อในพื้นที่ โดยคณะนักวิชาการจากสสวท. จะลงพื้นที่ทำงานร่วมกับศึกษานิเทศก์ในการติดตามผลว่า ครูได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการสอนและเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างไร การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาที่พบเพื่อหาแนวทางการแก้ไขปรับปรุงต่อไป




               


เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต2  ถือเป็นโมเดลที่ใหญ่ที่สุด และประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว ทั้งที่เพิ่งนำโครงการฯ ของสสวท.  เข้าสู่พื้นที่เมื่อปี 2552 โดยโครงการฯ ถูกขยายผลสู่โรงเรียนระดับอนุบาลทุกโรงเรียน ครอบคลุมทุกพื้นที่ การส่งครูผู้สอนเข้ารับการอบรมอย่างต่อเนื่อง จนขณะนี้มีครูแกนนำทั้งหมด 35 คน การจัดโครงการ “คาราวานเสริมสร้างเด็ก” เพื่อพัฒนาความรู้ของพ่อแม่ผู้ปกครองโดยให้มาเรียนรู้ร่วมกับเด็ก ซึ่งโรงเรียนจะคอยติดตามว่า ผู้ปกครองได้นำกิจกรรมไปกระตุ้นการเรียนรู้ของเด็กที่บ้านหรือไม่
“จากผลการประเมินของสปศ. หรือสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาตลอดหลายปีที่ผ่านมา เด็กของเราจะอ่อนด้อยในทักษะการคิดวิเคราะห์ แต่เมื่อนำกระบวนการของสสวท.เข้ามาปรับใช้ ทำให้การประเมินมาตรฐานตามปีงบประมาณ 2554 เราส่งโรงเรียนระดับปฐมวัยเข้ารับการประเมิน 13 โรง ก็ผ่านการประเมินครบทุกโรงเรียน”  นายทองสุข อยู่ศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2กล่าว
อย่างไรก็ตาม นางกันยารัตน์ บุญมาลีรัตน์ ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ยอมรับว่าแรกดำเนินการประสบกับปัญหาหลายด้าน ตั้งแต่ปัญหาการสื่อสารทางภาษาเนื่องจากเด็กเกือบทั้งหมดเป็นเด็กชนเผ่า ผู้ปกครองก็เป็นชนเผ่า ปัญหาครูผู้สอนที่ไม่ได้จบด้านปฐมวัยมาโดยตรง จึงไม่มีพื้นฐานจัดกิจกรรม หรือความรู้จิตวิทยาเด็ก เกิดความสับสนเมื่อต้องรับผิดชอบทั้งกิจกรรมการเรียนการสอน 6 กิจกรรมหลัก (ได้แก่ กิจกรรมการเคลื่อนไหว กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมเสรี กิจกรรมกลางแจ้ง กิจกรรมเกมส์การศึกษา และกิจกรรมเสริมจากสสวท.) จนเมื่อได้รับการอบรมก็เข้าใจว่า เป็นแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการเสริมเข้าไปใน 6 กิจกรรมหลักที่มีอยู่แล้ว ส่งผลให้ครูมีองค์ความรู้ในการจัดรูปแบบการเรียนการสอนได้ชัดเจนยิ่งขึ้น สามารถต่อยอดกิจกรรมตามสภาพแวดล้อมและภูมิปัญญาในท้องถิ่นของตน
 “เราได้เห็นพัฒนาการเกิดขึ้นกับเด็ก ๆ อย่างชัดเจนถึง 4 ด้านภายหลังนำโครงการนี้เข้ามา คือ ด้านร่างกาย เด็กมีการเคลื่อนไหว ตื่นตัวต่อการเรียนรู้ตลอดเวลา ด้านสังคม เด็กมีการทำงานร่วมกัน มีพัฒนาการทางสังคมในการอยู่ร่วมกัน รู้จักเคารพกฎ-กติกา ด้านครอบครัว มีการพูดคุย และเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเด็กและผู้ปกครอง และด้านสติปัญญา เด็กค้นหาและค้นพบองค์ความรู้ด้วยตัวเอง แทนที่จะรอครูบอกเพียงอย่างเดียว” นางกันยารัตน์ กล่าว



                                 


ตามหาใบไม้...ที่บ้านแม่สลิดหลวงวิทยา
        กิจกรรมการเรียนรู้จากใบไม้ที่โรงเรียนบ้านสลิดหลวงวิทยา ตำบลแม่สอง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ซึ่งเป็นโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นตัวอย่างหนึ่งของกิจกรรมบูรณาการที่ให้เด็ก ๆ ได้ฝึกการสังเกตและวาดภาพใบไม้ ต่อยอดสู่การเรียนรู้เรขาคณิตจากรูปทรงของใบไม้ ตลอดจนช่วยกันคิดค้นเทคโนโลยีในการพิมพ์ลายใบไม้ให้เป็นศิลปะบนผืนผ้าอย่างง่าย ๆ
        “เดิมเด็กไม่ได้ลงมือปฏิบัติก็ไม่ค่อยสนใจเรียน เสียสมาธิง่าย อีกอย่างเด็กอนุบาลที่นี่เป็นเด็กชาวเขา 100 เปอร์เซนต์ ครูก็สื่อสารยากเพราะไม่เข้าใจภาษาถิ่น เด็กก็ไม่เข้าใจภาษาไทย ต้องมีครูภาษาถิ่นเข้ามาช่วย โชคดีที่มีเด็กบางคนรู้ทั้งสองภาษาก็จะช่วยเพื่อน บางทีก็ช่วยครูด้วยเหมือนกัน” ครูโสรดา พลเสน คุณครูอนุบาล 2/1 เล่าให้ฟังถึงปัญหาที่ผ่านมา“แต่พอนำเอาวิธีการสอนของสสวท. มาใช้ เราก็บูรณาการวิชาภาษาไทยเพิ่มเข้าไปอีกหนึ่งวิชา ทำให้เด็ก ๆ มีปฏิสัมพันธ์กับครูมากขึ้น กระตือรือล้น กล้าคิด กล้าแสดงออกมากกว่าเดิมที่ต้องรอให้ครูบอกเพียงอย่างเดียว”



                    


แม่ละเมา...เขาชวนล่องแก่ง
        อีกหนึ่งกิจกรรมการเรียนรู้ของเด็กชายขอบให้สามารถ “ล่องแก่งอย่างไรให้ปลอดภัย” ซึ่งสอนเด็ก ๆ รู้จักและเรียนรู้ถึงประโยชน์อุปกรณ์ที่ใช้ในการล่องแก่ง เช่น ไม้พาย หมวกกันน็อค เสื้อชูชีพ และวิธีการล่องแก่งที่ปลอดภัย จากการสังเกต คิดวิเคราะห์ด้วยตัวเอง ซึ่งไม่เพียงเป็นการสอดแทรกความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และศิลปะแล้ว ยังปลูกฝังแนวทางท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และรักในถิ่นเกิดของตนเอง
ครูพัชรา อังกูรขจร ครูวิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนบ้านแม่ละเมา ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก กล่าวว่า ขณะนี้พ่อแม่เด็กหลายคนที่เข้ามาเรียนรู้ร่วมกับเด็ก ๆได้กลายมาเป็นแกนนำผู้ปกครอง และสามารถจัดตั้งเป็น “เครือข่ายพ่อครู-แม่ครู” ถึง 12 กลุ่มเครือข่าย มาอาสาช่วยสอนและจัดกิจกรรมกับโรงเรียน ผู้ใหญ่หลายท่านในชุมชนมีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้ก็มาช่วยกัน ซึ่งช่วยแบ่งเบาปัญหาครูขาดแคลนในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี
“เนื่องจากผู้ปกครองหรือครูบางท่านไม่ได้มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์โดยตรง ดังนั้น ก่อนทำกิจกรรม เราจะมาประชุมกันก่อนเพื่อสรุปว่ากิจกรรมแต่ละชุด เด็กจะต้องเรียนรู้คำสำคัญหรือคีย์เวิร์ดอะไรบ้าง ทุกฝ่ายจะได้เข้าใจตรงกันและดำเนินกิจกรรมไปในทิศทางเดียวกัน”
        แม่ครูทัศวรรณ ปู่ลมดี ผู้ปกครองจิตอาสาในเครือข่ายพ่อครู-แม่ครูท่านหนึ่ง ยืนยันว่า การที่พ่อแม่ร่วมดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด ทำให้รู้ว่า ลูกเรามีความบกพร่องหรือด้อยในด้านใด ที่สำคัญคือ พ่อแม่ได้ตระหนักว่า จะปล่อยให้การเรียนรู้ของเด็ก ๆ เป็นภาระของครูทั้งหมดไม่ได้ เพราะเวลาของเด็กส่วนใหญ่นั้นอยู่ที่บ้าน จึงเป็นเรื่องดีที่โรงเรียน พ่อแม่ และชุมชน จะมาช่วยกันหาวิธีการศึกษา หรือช่วยกันตอกย้ำซ้ำทวนสิ่งที่เด็ก ๆ ได้เรียนรู้มา ซึ่งเราสัมผัสได้เลยว่า เด็กมีพัฒนาการดีขึ้นมาก ครอบครัวก็อบอุ่นเพราะได้ใช้เวลาร่วมกันมากขึ้น
“ตอนนี้เริ่มมีเสียงเรียกร้องจากเด็กปฐมวัยให้จัดการเรียนการสอนแบบนี้ เมื่อเขาขึ้นสู่ระดับประถมและมัธยมศึกษา ซึ่งเราคงเริ่มที่ระดับประถมศึกษาก่อน ถ้าหาก สสวท. สามารถขยายกิจกรรมลักษณะนี้ไปจนถึงประถมศึกษา 3 เท่ากับเด็กจะมีเวลาฝึกฝนกระบวนการคิดวิเคราะห์ถึง 5 ปี ซึ่งน่าจะเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมพอในการปลูกฝังเด็กให้เป็นคนมีจิตวิทยาศาสตร์ ที่ติดตัวไปกระทั่งโตเป็นผู้ใหญ่ หรือเด็กบางคนอาจกลายเป็นนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ของประเทศก็เป็นได้” ผอ.ทองสุข สรุปทิ้งท้าย



ประเมินตนเอง 

ในสัปดาห์นี้ให้คะเเนนตัวเอง 90 คะเเนน เพราะตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย   และมีส่วนร่วมในการตอบคำถามในห้องเรียน

ประเมินเพื่อน

ในรายสัปดาห์นี้ให้คะเเนนเพื่อน 100 คะเเนน  เพราะเพื่อนตั้งใจเรียนและเเต่งกายเรียบร้อย  และมีส่วนร่วมในการตอบคำถามในห้องเรียน

ประเมินครูผู้สอน  

ในรายสัปดาห์นี้ให้คะเเนนครูผู้สอน 100 คะเเนนเพราะครูสอนเข้าใจ  เเต่งกายเรียบร้อย  เเละเข้าสอนตรงเวลา   และ power point  มีความสวยงามดูแล้วมีความสะอาดตามากคะ